ฟรี คลังภาพถ่ายฟรี ของ กว้างขวาง, ข้างใน, ความสะดวกสบาย คลังภาพถ่าย

ถึงแม้ประเทศไทยจะมีอยู่ 3 ฤดูคือ ร้อน หนาว ฝน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ไม่ว่าจะฤดูไหนอากาศประเทศไทยของเราก็ยังคงร้อนเป็นส่วนใหญ่ แม้จะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว เราก็ยังใช้วิธีเปิดแอร์เพื่อรักษาอุณหภูมิห้องให้สูงกว่าอุณหภูมิด้านนอกที่หนาวเหน็บได้อีกด้วย เพราะเหตุผลเหล่านี้แอร์จึงเริ่มกลายมาเป็นไอเทมที่แทบทุกบ้านต้องมี เพื่อสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้น่าอยู่

แอร์มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ

  1. แอร์ติดผนัง

เครื่องปรับอากาศที่นิยมตั้งภายในบ้าน เหมาะสำหรับติดตั้งในห้องขนาดไม่ใหญ่มาก อย่างเช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ขนาดทำความเย็นเริ่มตั้งแต่ BTU ต่ำ 9,000 BTU ไปจนถึงขนาดปานกลาง 24,000 BTU

  1. แอร์ผังฝ้า

เป็นแอร์ที่มีความหรูหรา ตัวเครื่องและระบบทุกอย่างจะซ่อนอยู่ใต้ฝ้าเพดาน ช่วยกระจายความเย็นไปทั่วห้องได้อย่างทั่วถึง แต่แลกมาด้วยค่าไฟสูง

  1. แอร์เคลื่อนที่

เป็นแอร์ขนาดเล็ก มี BTU น้อยกว่าแอร์ติดผนังและแอร์ผังฝ้า ให้ความเย็นและกระจายความเย็นได้น้อยกว่า แต่เคลื่อนที่ได้ตามต้องการ

สำหรับใครที่กำลังจะซื้อแอร์เข้าบ้าน วันนี้เรามีวิธีเลือกแอร์และ BTU ที่เหมาะสมกับขนาดห้องมาฝากกัน !

วิธีเลือกแอร์ของห้องที่มีอุณหภูมิปกติ

  • 5-7 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 5,000 BTU
  • 10-14 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 9,000 BTU
  • 14-18 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 12,000 BTU
  • 18-22 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 15,000 BTU
  • 22-26 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 18,000 BTU
  • 25-29 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 20,000 BTU
  • 27-31 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 22,000 BTU
  • 30-34 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 24,000 BTU
  • 38-42 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 30,000 BTU
  • 46-50 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 36,000 BTU
  • 51-55 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 40,000 BTU

วิธีเลือกแอร์ของขนาดห้องที่แสงแดดเข้าถึง

  • 4-8 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 5,000 BTU
  • 9-13 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 9,000 BTU
  • 13-17 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 12,000 BTU
  • 17-21 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 15,000 BTU
  • 20-24 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 18,000 BTU
  • 23-27 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 20,000 BTU
  • 25-29 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 22,000 BTU
  • 28-32 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 24,000 BTU
  • 35-39 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 30,000 BTU
  • 44-47 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 36,000 BTU
  • 48-52 ตรม. แอร์ควรมีขนาด 40,000 BTU

วิธีเลือกแอร์โดยใช้สูตรคำนวณ BTU

หากคุณต้องการความแม่นยำสูงสุด สามารถใช้สูตรคำนวณ BTU ได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่หลายคนนิยมกัน เริ่มจากการหาขนาดห้องในองศา ‘กว้างคูณยาว’ ให้ได้หน่วยวัดเป็นเมตร และนำมาคูณกับตัวแปรหรือความแตกต่าง เช่น หน้าต่างและมุมต่างๆ ของห้อง, ทิศทางของแดดที่ส่องกระทบห้อง, วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่ รวมถึงจำนวนคนผู้อยู่อาศัยในห้องนั้นๆ

โดยใช้สูตรคำนวณดังนี้

BTU =  พื้นที่ห้อง ( กว้าง x ยาว ) x ความแตกต่าง

ความแตกต่างในข้างต้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. 600-700 = ห้องที่มีอุณหภูมิปกติ อากาศจะไม่ค่อยร้อนมาก มักใช้แอร์เฉพาะตอนกลางคืน
  2. 700-800 = ห้องที่แสงแดดเข้าถึง อากาศจะร้อนสูงในตอนกลางวัน มักใช้แอร์เพิ่มความเย็นทั้งกลางวันและกลางคืน

ปัจจัยที่ใช้พิจารณาร่วมกับวิธีเลือกซื้อแอร์พื้นฐาน

  1. จำนวนคนที่พักอาศัยในห้องนั้นๆ
  2. จำนวน / ขนาด ของหน้าต่างและประตูภายในห้อง
  3. บนหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่ แล้วบ้านของเรามีกี่ชั้น
  4. จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในห้องมีกี่ชิ้น เพราะการปล่อยความร้อนส่งผลต่อการทำความเย็นของแอร์
  5. ภายในห้องมีแดดส่องถึงกี่เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ และระยะเวลาที่แดดส่องถึงอยู่ในช่วงใดบ้าง สามารถสังเกตเบื้องต้นได้ด้วยสายตาตัวเอง

สุดท้ายนี้วิธีเลือกซื้อแอร์ที่ดีคือไม่ควรเลือกที่ BTU สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป เพราะถ้าเราเลือก BTU สูงมากเกินไป จะทำให้คอมเพลสเซอร์แอร์ตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพในการทำความเย็นลดลง และกลับต้องเปลืองไฟเพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุ ส่วนถ้าเลือก BTU ต่ำไป จะทำให้คอมเพลสเซอร์แอร์มำงานหนักตลอดเวลา ความเย็นในห้องไม่เป็นไปตามอุณหภูมิที่ต้องการ ทำให้แอร์เสียง่ายและเปลืองเงินมากเช่นกัน เพราะฉะนั้นวิธีเลือกซื้อแอร์ที่ถูกต้องจึงควรเลือก BTU ที่เหมาะสมกับตัวห้อง เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ส่งผลให้สิ้นเปลืองค่าไฟจนเกินไปนั่นเอง

สำหรับการซื้อแอร์อาจต้องมีค่าใช้จ่ายสูง มาจบปัญหาเรื่องความร้อนที่กวนใจเจ้าของบ้านด้วยการสมัครบัตรเครดิตจากหลายหลายสถาบันการเงินของ Rabbit Care ก็จะสามารถรูดซื้อแอร์เข้าบ้านได้ง่ายๆ แบบไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ในทีเดียว สามารถเลือกประเภทบัตรเครดิตที่เหมาะกับคุณได้แล้ววันนี้ที่เว็บไซต์ https://rabbitcare.com

 

Categories: Business